ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ ม.สวนดุสิต จัดโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มี และเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ระยะที่ 99 หลักสูตรวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 62 คน ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบ Online (ZOOM)

ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ ม.สวนดุสิต จัดโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มี และเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ระยะที่ 99 หลักสูตรวิทยฐานะผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 62 คน ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบ Online (ZOOM)
.
สำหรับพิธีเปิดในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ การพัฒนาตนสำหรับผู้บริหาร” สรุปความสำคัญได้ดังต่อไปนี้
.
การนำความรู้จากที่ต่าง ๆ มาใช้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เดิมจะนำความรู้จากการอ่านมาใช้ซึ่งอาจจะไม่ทันเวลา ปัจจุบันจึงใช้วิธีการสื่อสารโดยตรง แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน รับฟังกัน ก็จะทำให้นำแนวคิดต่าง ๆ ไปใช้ได้เร็วขึ้น เพราะปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น จึงต้องคิดทำอะไรต่าง ๆ ให้รวดเร็ว
.
การบริหารมี 3 ระบบ คือ
1) ระบบการบริหารรัฐกิจ ใช้กฎหมายและข้อบังคับเป็นตัวตั้ง เพราะอยู่ร่วมกันจำนวนมาก ต้องใช้การบริหารภาพรวมใหญ่ ๆ
2) ระบบการบริหารการศึกษา เมื่อมีคนมีความรู้มากขึ้น มีนักปราชญ์มากขึ้น มีความคิดอิสระเชิงวิชาการ รูปแบบการบริหารไม่เหมือนกับการบริหารรัฐกิจที่ใช้กฎหมายระเบียบข้อบังคับ จึงต้องใช้วิธีการอีกแบบหนึ่ง
3) ระบบการบริหารธุรกิจ พัฒนาขึ้นมาบนฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้ระบบบริหารนี้ไปได้เร็วกว่าระบบอื่น ๆ
.
ระยะหลังมีการนำการบริหารธุรกิจมาใช้ทางการศึกษามากขึ้น เมื่อไม่เข้าใจบริบททั้งหมด ก็จะเกิดผลเสียกับการศึกษาได้ เพราะธุรกิจมีแนวคิดเกี่ยวกับกำไร สินค้าและบริการ แต่บริหารการศึกษาไม่มีสินค้าและบริการ แต่เป็นการบริหารองค์ความรู้ เมื่อนำแนวทางธุรกิจมาใช้ ทำให้ผู้บริหารการศึกษามองในมุมธุรกิจ ลืมในส่วนที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของการบริหารการศึกษา ทำให้ไขว้เขว จึงควรพิจารณาให้ดี
.
คุณสมบัติของผู้นำในด้านการศึกษาจะมี “ผู้เรียน” เป็นส่วนประกอบสำคัญ ไม่ได้มีเฉพาะครูและบุคลากร ผู้บริหารการศึกษาจึงต้องมีคุณสมบัติ 2 ด้าน 1)ด้านการบริหาร มีความสามารถในการบริหารองค์กรการศึกษา และบริหารคน 2)ด้านวิชาการ ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมองผลลัพธ์ทางวิชาการ เพราะความสำเร็จของผู้บริหารขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ทางวิชาการ ต้องมีความเข้าใจในระบบงานวิชาการที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เข้าใจความแตกต่างของการเรียนออนไลน์ แล้วจึงสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของทั้งครูและผู้เรียน
.
ผู้บริหารจะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร
1) ปรับวิธีคิดใหม่ ต้องมองตนเองก่อนว่ามีวิธีคิดอย่างไร ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ไม่ใช่คิดจากบนประสบการณ์เดิมเพียงอย่างเดียว ฟังก่อนที่จะคิด ก็จะได้ข้อมูลวิธีการใหม่ ๆ คิดด้วยสติและปัญญา มีสมาธิ คิดว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น
2) ปรับวิธีพูด วิธีการสื่อสาร ต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดในการพูด ทำให้คนฟังรู้สึกว่าอยากจะทำตาม หรือจะปรับปรุงอย่างไร บางครั้งการพูดก็ต้องอาศัยบารมีด้วย คนฟังจะรู้สึกยอมรับในเรื่องที่พูด ยอมรับว่ามีความรู้จริงในสิ่งนั้น ๆ
3) ปรับวิธีปฏิบัติ ต้องปฏิบัติให้ได้อย่างที่พูดไว้ แต่ในการปฏิบัติก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แก้ไขได้
.
หากผู้บริหารพัฒนาตนเองทั้ง 3 ส่วนนี้ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาผู้เรียน เป็นเด็กที่มีสติ ปัญญา มีความคาดหวังและมีความคิดที่เหนืออนาคตได้ หากผู้บริหารทำไม่ได้ก็จะเป็นผู้บริหารที่ยังมีความเขลาอยู่ เพราะเด็กรุ่นใหม่มีความรู้ใหม่ ๆ ที่กว้างไกลกว่า ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันเด็ก ก็จะเป็นการบล็อคความคิดเด็ก โรงเรียนจึงต้องให้ความเสมอภาคและสนับสนุนเด็กมากกว่าการบริหารบนหลักการและความคิดแบบเดิม

นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรอีกหลายท่าน ประกอบด้วย
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี บรรยายหัวข้อ “ผู้บริหารกับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ”
ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ม.สวนดุสิต บรรยายหัวข้อ “ ผู้บริหารกับการพัฒนาวิชาชีพ “
ดร.สิทธิพร เอี่ยมเสน ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ บรรยายหัวข้อ “การบริหารการเปลี่ยนแปลง”
ดร.วรเวชช์ อ่อนน้อม ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์
บรรยายหัวข้อ “การสร้างเครือข่ายในมิติผู้บริหาร”

สนใจหลักสูตรของ ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ ม.สวนดุสิต หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
TEL : 095-9199449
#หลักสูตรอบรม #สถาบันฝึกอบรมองค์กร #คอร์สออนไลน์ #อบรมออนไลน์
#ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ #มหาวิทยาลัยสวนดุสิต